วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 7 สรุปเนื้อหา






1. เรื่องการเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ความหมายของโครงการโครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน

ลักษณะสำคัญของโครงการ
1.ต้องมีระบบ
2.ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
3.ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต
4. เป็นการดำเนินงานชั่วคราว

ลักษณะของโครงการที่ดี
สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้
1. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้
2 .รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
3. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ
5. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ6. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น
7. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
8. สามารถติดตามประเมินผลได้


ประเภทโครงกา
1.โครงการที่เสนอโดยตัวบุคคล
2. โครงการที่เสนอโดยกลุ่มบุคคล
3. โครงการที่เสนอโดยหน่อยงาน

การบริหารโครงการ
การบริหารโครงการคือ การติดตามว่าโครงการคืบหน้าแค่ไหน ติดปัญหาอะไรอยู่ และจัดการทรัพยากรให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มี

การบริหารโครงการ
มี 9 เรื่องที่ควรพิจารณา
1. การบริหารภาพรวม (Total Management)
2. การบริหารขอบเขต (Scope Management)
3. การบริหารเวลา (Time Management)
4. การบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Management)
5. การบริหารคุณภาพ (Quality Management)
6. การบริหารองค์กร (Organization Management)
7. การบริหารการสื่อสาร (Communication Management)
8. การบริหารอุปทาน (Supply Management)
9. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)



2. เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในเรื่องของความหมายของความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา นั้น ข้าพเจ้าสรุปว่า แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคือ แผนงานที่จัดทำขึ้งอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยเป้าหมาย แนวปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ของแต่ละกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการจัดทำแผนมี 6 ขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2. ประเมินความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา
3. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และพิจารณาแนวทางการแก้ไขตามประเด็นสำคัญการพัฒนา
4. กำหนดแผนปฏิบัติรายปี
5. เขียนแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
6. นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ


3.เรื่องการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา- เป็นโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดี เพื่อครู และผู้บริหารนำแนวทางนี้ ไปพัฒนาการศึกษาระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาระดับโรงเรียน
-จากข้อมูลผลการประเมินระดับชาติ และการประเมินระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้นำข้อมูลมาพัฒนา และปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์
- ท่านรู้ข้อมูลโรงเรียนของท่านหรือยัง มีข้อมูลจะบอกอะไรบ้างจุดยืน ข้อมูลที่จะให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน อย่างไรจุดเด่น / จุดด้อย ส่วนที่สามารถจะโชว์ แสดง เป็น Best Practiceเป้าหมาย / ทิศทางการพัฒนา / ปรับปรุง สามารถจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือไปปรับปรุงได้ความคาดหวัง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการประเมิน
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินแยกตามวิชา / สาระ ภาพรวม เขตพื้นที่ โรงเรียน นักเรียน
2. ปรับแผน
3. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
4. ยกระดับคุณภาพสามารถสร้างมูลค่า เพิ่มในตัวเด็ก พัฒนากลุ่มเด็ก แยกเด็กเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนการคำนึงถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รางวัลความสำเร็จ เป้าหมายที่สำคัญคือตัวเด็กนักเรียนการจัดการเรียนการสอน -เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ- เน้นอ่านคล่อง เขียนคล่องการวัดผลประเมินผล - เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ- ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)การประกันคุณภาพภายใน - คำนึงถึงตัวชี้วัด ตามมาตรฐานการเรียนรู้ - มีการดำเนินการตามระบบ PDCA- SIP (School Implement Plan )-SAR (Self Assessment Report)- CAR ( Classroom Action Research)บทบาทผู้บริหาร- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง- ผู้นำการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทบาทของครู ในการขับเคลื่อน
1. ศึกษาข้อมูลด้านการเรียนการสอน
2. คุณรู้จักนักเรียนตามระดับคุณภาพ แยกนักเรียน
3. ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มอ่อน
4. นักเรียนกลุ่มเก่ง พัฒนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก
- ด้านบริหารจัดการ
- ด้านการเรียนการสอน
- ความพร้อมปัจจัยสนับสนุน
- การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4. การประเมินผลทางการศึกษา
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่


มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
1. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา
2. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด
3. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรม
ความมุ่งหมายของการประเมินทางการศึกษา

การประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินทางการประเมินพอสรุปได้ 3 ประการ

1. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
2. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการ และเป็นที่ยอมรับหรือไม่
3. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่

ความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา

1. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด
2. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่
3. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน
4. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน
5. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
6. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไป
หลักการของการประเมินผลทางการศึกษา
1. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่าในเรื่องอะไร
2. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้
3. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน
4. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน
5. ปราศจากความลำเอียง
สรุปแล้วการประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจ จะต้องประเมินด้วยความเที่ยงธรรม
และมีคุณธรรมอย่างสูง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น