แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียน โดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยคือ
จุดเด่น
จุดเด่นของการทำบล็อก ก็คือ การที่เราได้ใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการเรียนเป็นสิ่งที่ทันสมัย ทำได้ไม่ยาก เนื้อหาที่ใช้ก็สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอ่านได้ไม่น่าเบื่อ
มีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทำสิ่งใหม่ๆเช่นการทำรูปภาพสวยๆต่างถือเป็นเรื่องที่สนุกและเพลิดเพลิน ทำให้เราได้ใช้เวลาที่เหลือๆจากการทำกิจกรรมต่างหรือเวลาที่เข้าใช้อินเตอร์เราได้ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ การที่เราได้ทำบล็อกนั้นทำให้เราเป็นคนใจเย็นขึ้นมีสมาธิในการทำงาน และยังสื่ออะไรได้อีกหลายอย่าง
จุดด้อย
ส่วนจุดด้อย ได้แก่ ในการทำบล็อกจะต้องใช้คอมพิวเตอร์และจะต้องเข้าอินเตอร์เน็ตได้ดั้งนั้นหากว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถทำได้ลำบากเพราะจะต้องตกแต่งให้สวยงามต้องใช้เวลาในการทำ การทำบล็อกนั้นทำให้ผู้เรียนเกิดความขี้เกียจได้เพราะสามารถคัดลอกเนื้อหาจากการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ มีอีกอย่างก็คือการที่ผู้สอนเน้นแต่การสอนให้ทำบล็อกนั้นก็ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะผู้เรียนไม่ได้ไปใช้ประสบการณ์จริงในการจัดบรรยากาศในห้องเรียน
อย่างไรก็ตามต้องขอขอบพระคุณผู้สอนเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำนวัตกรรมการทำบล็อกนี้มาสอนในกับผู้เรียนซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากที่ท่านผู้สอนสละเวลาช่วยสอนให้โดยที่ท่านผู้สอนก็มีความสุขกับการสอนทำให้น่าสนใจไม่น่าเบื่อ เชื่อแน่ว่าผู้ที่ได้เรียนการทำบล็อกทุกคนจะสามารถนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ได้อย่างแน่นอน เพราะในอนาคตก็จะนำไปใช้ในการสอนด้วย ถือเป็นสื่อที่ดีอีกอย่างหนึ่งและสามารถก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อสอบ
ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ข้อที่
1. กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาและรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของอดีตนายกทักษิณ มานั้น จะเห็นได้ว่าในขณะที่ท่านเคยดำรงตำแหลงนายกรัฐมนตรีนั้นมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี
เรื่องที่ดีและมีประโยชน์ที่ท่านได้ทำก็คือ
เรื่องที่ไม่ดี ได้แก่
- เรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ามีการให้เงินบางส่วนตอบแทนประชาชน แต่เป็นส่วนน้อยนักที่ได้เงินเหล่านั้นถึงอย่างไรก็ตามการที่ให้เงินประชาชนก็เพราะหวังว่าประชาชนรากหญ้า
จะเห็นแก่เงินที่เล็กๆน้อยๆที่หยิบยื่นให้มา แต่เงินส่วนใหญ่กลับฉ้อโกง
ในเรื่องนี้สามารถสอนเด็กได้หลายอย่างมากทีเดียวไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมีศีลธรรมไม่คดโกงใคร การมีความซื่อสัตย์สุจริต หากจะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นก็จะต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อนที่จะนึกถึงประโยชน์ส่วนตน
- เรื่องการปลุกรมดมประชาชนให้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศ ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยก หาความสมานฉันท์ในชาติไม่มีทำให้ประเทศชาติเกิดปัญหา
ในเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องที่ผู้นำไม่ควรกระทำเป็นอย่างมากเพราะในฐานะที่เป็นผู้นำน่าจะทำให้ประเทศชาติเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทำให้ประชาชนรักใคร่กลมเกรียวกัน
- เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะการเป็นผู้นำก็จะต้องมีความจงรักพักดีต่อพระมหากษัติยร์รักในประเทศชาติไม่ทำให้ประทศชาติเสื่อมเสีย
2.การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าการจัดการเรียนการสอนที่ดีที่จะมีประสิทฺธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าครูที่ดีจะต้องเตรียมแผนการสอนที่ใช้ได้กับสภาพจริงของผู้เรียนแผนจะต้องใช้ได้จริงกับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นสถานใดก็ตามเพราะบางครั้งในบางโรงเรียนนั้นเด็กจะเรียนอ่อนมากครูก็จะต้องปรับแผนด้วย ครูจะต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าเพื่อให้เวลาที่สอนเด็กนั้นผ่านไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นแผน สื่อ หรือวิธีการสอนก็ตาม
3.ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ ข้าพเจ้าสามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้คือ
การใช้สื่อ E-book โดยโปรแกรม FilpAlbum. ใช้ E-book เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นสำหรับเรื่องที่นักเรียนไม่สนใจและไม่เข้าใจก่อนนำ E-book ที่จัดทำขึ้นใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียน และใช้นอกห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมและนักเรียนที่สนใจ
การใช้บล็อกในการสั่งงานต่างๆ และให้นักเรียนนำเสนองานส่งงานทางบล็อก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อสร้างในการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้เด็กๆสนใจเป็น สื่อที่ดีมากๆมีเนื้อหาที่หลากหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าในการจัดการเรียนการสอนั้นการที่เราสามารถนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้กับนักเรียนได้นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะในยุคปัจจุบันนี้ถือเป็นยุคเทคโนโลยีเด็กๆจะต้องก้าวทันโลกใช้สื่อที่ทันสมัย
4.การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพจากการที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษามาแล้วนั้นข้าพเจ้าพอจะสรุปได้ว่าการประกันคุณภาพก็คือการประกันว่าสิ่งๆนั้นจะมีความเที่ยงตรงคงเส้นคงวา มีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้ และสามารถแก้ปัญหาได้
ดังนั้นการประกันคุณภาพจึงมีความสำคัญต่อการจัดการบริหารจัดการในชั้นเรียนก็คือจะสามารถประกันคุณภาพได้ว่ากิจกรรมที่จัดในชั้นเรียนนั้นมีคุณภาพเพียงใดมีคุณภาพพอมั้ย สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในระดับใด ผู้เรียนจะมีความมั่นใจได้มั้ยสำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น
5.ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ
ข้อดี
1. อาจารย์สอนการใช้วัตกรรมการเรียนการสอนรู้แบบใหม่
2. อาจารย์ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
3. อาจารย์แนะนำให้ในเรื่องที่ไม่รู้ในการสร้างบล็อก
ข้อเสีย
อาจารย์สอนการเร็วมากในเนื้อหาบางเรื่องทำให้นักศึกษาติดตามขั้นตอนการทำบล็อกไม่ทัน
ข้อเสนอแนะ
การที่อาจารย์สอนการทำบล็อกนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความแปลกใหม่ที่ก้าวทันเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่แปลกใหม่และสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปประยุกต์ใช้ได้กับวิชาต่างที่หลากหลาย และการที่เราได้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังทำให้เราได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่แปลกใหม่เกาะติดสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
แต่อย่างไรก็ตามในการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนนั้นถือเป็นวิชาที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพาะจะได้นำเนื้อหาที่ได้เรียนไปใช้ในการสอนในอนคตข้างหน้า ดังนั้นควรเน้นเรื่องการบริหารจัดการในชั้นเรียนด้วย
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 9 ผู้นำ
ผู้นำที่ชื่นชอบ ของข้าพเจ้าคือ นายชวน หลีกภัย
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติโดยย่อของท่าน
นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 8 การจัดบรรยากาศในห้องเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)