แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียน โดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยคือ
จุดเด่น
จุดเด่นของการทำบล็อก ก็คือ การที่เราได้ใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการเรียนเป็นสิ่งที่ทันสมัย ทำได้ไม่ยาก เนื้อหาที่ใช้ก็สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอ่านได้ไม่น่าเบื่อ
มีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทำสิ่งใหม่ๆเช่นการทำรูปภาพสวยๆต่างถือเป็นเรื่องที่สนุกและเพลิดเพลิน ทำให้เราได้ใช้เวลาที่เหลือๆจากการทำกิจกรรมต่างหรือเวลาที่เข้าใช้อินเตอร์เราได้ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ การที่เราได้ทำบล็อกนั้นทำให้เราเป็นคนใจเย็นขึ้นมีสมาธิในการทำงาน และยังสื่ออะไรได้อีกหลายอย่าง
จุดด้อย
ส่วนจุดด้อย ได้แก่ ในการทำบล็อกจะต้องใช้คอมพิวเตอร์และจะต้องเข้าอินเตอร์เน็ตได้ดั้งนั้นหากว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถทำได้ลำบากเพราะจะต้องตกแต่งให้สวยงามต้องใช้เวลาในการทำ การทำบล็อกนั้นทำให้ผู้เรียนเกิดความขี้เกียจได้เพราะสามารถคัดลอกเนื้อหาจากการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ มีอีกอย่างก็คือการที่ผู้สอนเน้นแต่การสอนให้ทำบล็อกนั้นก็ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะผู้เรียนไม่ได้ไปใช้ประสบการณ์จริงในการจัดบรรยากาศในห้องเรียน
อย่างไรก็ตามต้องขอขอบพระคุณผู้สอนเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำนวัตกรรมการทำบล็อกนี้มาสอนในกับผู้เรียนซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากที่ท่านผู้สอนสละเวลาช่วยสอนให้โดยที่ท่านผู้สอนก็มีความสุขกับการสอนทำให้น่าสนใจไม่น่าเบื่อ เชื่อแน่ว่าผู้ที่ได้เรียนการทำบล็อกทุกคนจะสามารถนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ได้อย่างแน่นอน เพราะในอนาคตก็จะนำไปใช้ในการสอนด้วย ถือเป็นสื่อที่ดีอีกอย่างหนึ่งและสามารถก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อสอบ
ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ข้อที่
1. กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาและรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของอดีตนายกทักษิณ มานั้น จะเห็นได้ว่าในขณะที่ท่านเคยดำรงตำแหลงนายกรัฐมนตรีนั้นมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี
เรื่องที่ดีและมีประโยชน์ที่ท่านได้ทำก็คือ
เรื่องที่ไม่ดี ได้แก่
- เรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ามีการให้เงินบางส่วนตอบแทนประชาชน แต่เป็นส่วนน้อยนักที่ได้เงินเหล่านั้นถึงอย่างไรก็ตามการที่ให้เงินประชาชนก็เพราะหวังว่าประชาชนรากหญ้า
จะเห็นแก่เงินที่เล็กๆน้อยๆที่หยิบยื่นให้มา แต่เงินส่วนใหญ่กลับฉ้อโกง
ในเรื่องนี้สามารถสอนเด็กได้หลายอย่างมากทีเดียวไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมีศีลธรรมไม่คดโกงใคร การมีความซื่อสัตย์สุจริต หากจะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นก็จะต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อนที่จะนึกถึงประโยชน์ส่วนตน
- เรื่องการปลุกรมดมประชาชนให้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศ ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยก หาความสมานฉันท์ในชาติไม่มีทำให้ประเทศชาติเกิดปัญหา
ในเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องที่ผู้นำไม่ควรกระทำเป็นอย่างมากเพราะในฐานะที่เป็นผู้นำน่าจะทำให้ประเทศชาติเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทำให้ประชาชนรักใคร่กลมเกรียวกัน
- เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะการเป็นผู้นำก็จะต้องมีความจงรักพักดีต่อพระมหากษัติยร์รักในประเทศชาติไม่ทำให้ประทศชาติเสื่อมเสีย
2.การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าการจัดการเรียนการสอนที่ดีที่จะมีประสิทฺธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าครูที่ดีจะต้องเตรียมแผนการสอนที่ใช้ได้กับสภาพจริงของผู้เรียนแผนจะต้องใช้ได้จริงกับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นสถานใดก็ตามเพราะบางครั้งในบางโรงเรียนนั้นเด็กจะเรียนอ่อนมากครูก็จะต้องปรับแผนด้วย ครูจะต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าเพื่อให้เวลาที่สอนเด็กนั้นผ่านไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นแผน สื่อ หรือวิธีการสอนก็ตาม
3.ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ ข้าพเจ้าสามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้คือ
การใช้สื่อ E-book โดยโปรแกรม FilpAlbum. ใช้ E-book เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นสำหรับเรื่องที่นักเรียนไม่สนใจและไม่เข้าใจก่อนนำ E-book ที่จัดทำขึ้นใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียน และใช้นอกห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมและนักเรียนที่สนใจ
การใช้บล็อกในการสั่งงานต่างๆ และให้นักเรียนนำเสนองานส่งงานทางบล็อก
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อสร้างในการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้เด็กๆสนใจเป็น สื่อที่ดีมากๆมีเนื้อหาที่หลากหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าในการจัดการเรียนการสอนั้นการที่เราสามารถนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้กับนักเรียนได้นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะในยุคปัจจุบันนี้ถือเป็นยุคเทคโนโลยีเด็กๆจะต้องก้าวทันโลกใช้สื่อที่ทันสมัย
4.การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพจากการที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษามาแล้วนั้นข้าพเจ้าพอจะสรุปได้ว่าการประกันคุณภาพก็คือการประกันว่าสิ่งๆนั้นจะมีความเที่ยงตรงคงเส้นคงวา มีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้ และสามารถแก้ปัญหาได้
ดังนั้นการประกันคุณภาพจึงมีความสำคัญต่อการจัดการบริหารจัดการในชั้นเรียนก็คือจะสามารถประกันคุณภาพได้ว่ากิจกรรมที่จัดในชั้นเรียนนั้นมีคุณภาพเพียงใดมีคุณภาพพอมั้ย สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในระดับใด ผู้เรียนจะมีความมั่นใจได้มั้ยสำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น
5.ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ
ข้อดี
1. อาจารย์สอนการใช้วัตกรรมการเรียนการสอนรู้แบบใหม่
2. อาจารย์ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
3. อาจารย์แนะนำให้ในเรื่องที่ไม่รู้ในการสร้างบล็อก
ข้อเสีย
อาจารย์สอนการเร็วมากในเนื้อหาบางเรื่องทำให้นักศึกษาติดตามขั้นตอนการทำบล็อกไม่ทัน
ข้อเสนอแนะ
การที่อาจารย์สอนการทำบล็อกนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความแปลกใหม่ที่ก้าวทันเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่แปลกใหม่และสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปประยุกต์ใช้ได้กับวิชาต่างที่หลากหลาย และการที่เราได้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังทำให้เราได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่แปลกใหม่เกาะติดสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
แต่อย่างไรก็ตามในการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนนั้นถือเป็นวิชาที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพาะจะได้นำเนื้อหาที่ได้เรียนไปใช้ในการสอนในอนคตข้างหน้า ดังนั้นควรเน้นเรื่องการบริหารจัดการในชั้นเรียนด้วย
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 9 ผู้นำ
ผู้นำที่ชื่นชอบ ของข้าพเจ้าคือ นายชวน หลีกภัย
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติโดยย่อของท่าน
นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์คุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 8 การจัดบรรยากาศในห้องเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 7 สรุปเนื้อหา
1. เรื่องการเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ความหมายของโครงการโครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน
ลักษณะสำคัญของโครงการ
1.ต้องมีระบบ
2.ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
3.ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต
4. เป็นการดำเนินงานชั่วคราว
ลักษณะของโครงการที่ดี
สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้
1. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้
2 .รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
3. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ
5. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ6. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น
7. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
8. สามารถติดตามประเมินผลได้
ประเภทโครงการ
1.โครงการที่เสนอโดยตัวบุคคล
2. โครงการที่เสนอโดยกลุ่มบุคคล
3. โครงการที่เสนอโดยหน่อยงาน
การบริหารโครงการ
การบริหารโครงการคือ การติดตามว่าโครงการคืบหน้าแค่ไหน ติดปัญหาอะไรอยู่ และจัดการทรัพยากรให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มี
การบริหารโครงการ
มี 9 เรื่องที่ควรพิจารณา
1. การบริหารภาพรวม (Total Management)
2. การบริหารขอบเขต (Scope Management)
3. การบริหารเวลา (Time Management)
4. การบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Management)
5. การบริหารคุณภาพ (Quality Management)
6. การบริหารองค์กร (Organization Management)
7. การบริหารการสื่อสาร (Communication Management)
8. การบริหารอุปทาน (Supply Management)
9. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
ความหมายของโครงการโครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน
ลักษณะสำคัญของโครงการ
1.ต้องมีระบบ
2.ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
3.ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต
4. เป็นการดำเนินงานชั่วคราว
ลักษณะของโครงการที่ดี
สามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้
1. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้
2 .รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
3. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ
5. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ6. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น
7. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
8. สามารถติดตามประเมินผลได้
ประเภทโครงการ
1.โครงการที่เสนอโดยตัวบุคคล
2. โครงการที่เสนอโดยกลุ่มบุคคล
3. โครงการที่เสนอโดยหน่อยงาน
การบริหารโครงการ
การบริหารโครงการคือ การติดตามว่าโครงการคืบหน้าแค่ไหน ติดปัญหาอะไรอยู่ และจัดการทรัพยากรให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มี
การบริหารโครงการ
มี 9 เรื่องที่ควรพิจารณา
1. การบริหารภาพรวม (Total Management)
2. การบริหารขอบเขต (Scope Management)
3. การบริหารเวลา (Time Management)
4. การบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Management)
5. การบริหารคุณภาพ (Quality Management)
6. การบริหารองค์กร (Organization Management)
7. การบริหารการสื่อสาร (Communication Management)
8. การบริหารอุปทาน (Supply Management)
9. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 6
ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
หากข้าพเจ้าได้เป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าจะศึกษาเป็นอันดับแรกก็คือ
วิถีชีวิตของคนในพื้นที่นั้นว่า เค้าทำกิจวัตรประจำวันอะไรบ้าง ทำอาชีพอะไร นับถือศาสนาใดบ้าง นิสัยใจคอเป็นอย่างไร และที่สำคัญนั้นเราจะปรับตัวอย่างไรในการเข้าไปอยู่ในสังคมของเค้า ส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนนั้นน่าจะนับถือศาสนาอิสลาม ชีวิตในด้านอาหารการกินก็น่าจะไม่มีอาหารประเภทเนื้อหมู เราก็จะต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ในด้านภาษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
3.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)
4.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
5.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
หากข้าพเจ้าได้เป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าจะศึกษาเป็นอันดับแรกก็คือ
วิถีชีวิตของคนในพื้นที่นั้นว่า เค้าทำกิจวัตรประจำวันอะไรบ้าง ทำอาชีพอะไร นับถือศาสนาใดบ้าง นิสัยใจคอเป็นอย่างไร และที่สำคัญนั้นเราจะปรับตัวอย่างไรในการเข้าไปอยู่ในสังคมของเค้า ส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนนั้นน่าจะนับถือศาสนาอิสลาม ชีวิตในด้านอาหารการกินก็น่าจะไม่มีอาหารประเภทเนื้อหมู เราก็จะต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ในด้านภาษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
3.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)
4.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
5.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ใบงานที่ 4
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2. การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4. การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6. การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7. การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8. การวิพากษ์การทำงานของทีมงาน การวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไข ต่อไป
9. การสร้างวัฒนธรรมของทีมงาน วัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10. ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก
1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2. การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4. การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6. การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7. การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8. การวิพากษ์การทำงานของทีมงาน การวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไข ต่อไป
9. การสร้างวัฒนธรรมของทีมงาน วัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10. ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก
ใบงานครั้งที่ 5
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ในการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในหอพักนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ข้าพเจ้าคิดก็คือ การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน
และจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกันพี่จะต้องช่วยดูแลน้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ในการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในหอพักนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ข้าพเจ้าคิดก็คือ การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน
และจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกันพี่จะต้องช่วยดูแลน้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ในการทำงานกลุ่มนั้น จะต้องมีสิ่งสำคัญหลายอย่างที่จะทำให้เราสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะต้องมีสิ่งดังต่อไปนี้
1.สร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น จักเข้าใจ และเห็นใจความรู้สึกของผู้อื่น
2.สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ รู้จักสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ฝึกการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีและไม่ลืมที่จะใส่ใจในความรู้สึกของผู้ฟังด้วย
3. แสดงความมีน้ำใจ รู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้และรับ
4.เกียรติผู้อื่นอย่างจริงใจ รู้จักและยอมรับในความสามารถของผู้อื่น
5.แสดงความชื่นชมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รู้จักการแสดงออกให้เหมาะสมตามวาระโอกาส
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
หากเราทะเลาะ กันเพื่อนร่วมห้อง หรือเพื่อนร่วมงานนั้น เราสามารถนำเอาหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ ไม่ยากเลย เริ่มจาก
1. การรู้จักควบคุมตนเองรู้ว่าเราผิดหรือว่าเราถูก มีสติยั้งคิดอยู่เสมอ
2. มีจิตใจเปิดกว้าง ยอมรับผู้อื่นเสียบ้าง ไม่ได้คิดว่าตนสำคัญที่สุด
3. รู้จักถ่อมตน
4. พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
5. รู้จักถนอมน้ำใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
หากเราสมารถทำตามหลักมนุษยสัมพันธ์ที่กล่าวมาได้แล้วนั้นแน่นอนว่า ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ทีมงาน หรือบุคคลในสังคมใดก็ตาม จะสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจซึ่งกันและกัน ทุกคนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไร้ข้อขัดแย้งใดๆที่จะมาสู่การทะเลาะวิวาทกัน
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
เป็นการสื่อความที่มุ่งหวังให้เกิดการแสวงหาหนทางที่ใช้ปรับปรุง และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เป็นการพูดเพื่อจับผิด หรือหาข้อผิดพลาดจากผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น และไม่พูดตำหนิติเตียนหรือวิจารณ์ข้อบกพร่องของผู้อื่น แต่จะเป็นการสื่อเพื่อแสวงหาวิธีการที่จะนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขในทุกๆเรื่องให้ดีขึ้น
ใบงานที่ 3
1.ความหมายองค์และองค์การ
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
1. ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย ในปัจจุบันสายสัญญาณหรือเคเบิลที่นิยมใช้กันมีดังนี้
-*สายทวิสเตคแพร์ หรือที่เรียกว่า “สายคู่บิดเกลียว” เป็นสายโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วไปสามารถส่งสัญญาณเสียงหรือสัญญาณดิจิตอลก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของสายมีลักษณะเป็นสายทองแดง 2 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม แล้วนำมาพันกันเป็นเกลียวและเก็บอยู่ภายในเปลือกหุ้ม (Jacket) เดียวกัน
* สายคู่บิดเกลียวมีชีลด์ (Shielded Twisted Pair: STP)
สาย STP มีการป้องกันสัญญาณรบกวนด้วยการใช้ฉนวนพิเศษพันอยู่โดยรอบช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นมีระยะทางในการส่งประมาณ 600-800 เมตร
* สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair: UTP)
สาย UTP เป็นสายที่ไม่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนเป็นพิเศษมีระยะทางในการส่งประมาณ 400-600 เมตร นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการหรือห้องเรียนต่าง ๆ
2.เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
สายโคแอกเชียลและสายทวิสเตดแพร์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นมีสายทองแดงเส้นหนึ่งอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าส่วนในกรณีของเคเบิลใยแก้วนำแสงนั้นจะใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะทรงกระบอกอยู่ตรงกลางแทนโดยเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ใช้วิธีการส่งข้อมูลด้วยแสงแทนการส่งด้วยสัญญาณไฟฟ้า
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
1. ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย ในปัจจุบันสายสัญญาณหรือเคเบิลที่นิยมใช้กันมีดังนี้
-*สายทวิสเตคแพร์ หรือที่เรียกว่า “สายคู่บิดเกลียว” เป็นสายโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วไปสามารถส่งสัญญาณเสียงหรือสัญญาณดิจิตอลก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของสายมีลักษณะเป็นสายทองแดง 2 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม แล้วนำมาพันกันเป็นเกลียวและเก็บอยู่ภายในเปลือกหุ้ม (Jacket) เดียวกัน
* สายคู่บิดเกลียวมีชีลด์ (Shielded Twisted Pair: STP)
สาย STP มีการป้องกันสัญญาณรบกวนด้วยการใช้ฉนวนพิเศษพันอยู่โดยรอบช่วยให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นมีระยะทางในการส่งประมาณ 600-800 เมตร
* สายคู่บิดเกลียวไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair: UTP)
สาย UTP เป็นสายที่ไม่มีการป้องกันสัญญาณรบกวนเป็นพิเศษมีระยะทางในการส่งประมาณ 400-600 เมตร นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการหรือห้องเรียนต่าง ๆ
2.เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable)
สายโคแอกเชียลและสายทวิสเตดแพร์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นมีสายทองแดงเส้นหนึ่งอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าส่วนในกรณีของเคเบิลใยแก้วนำแสงนั้นจะใช้แท่งแก้วที่มีลักษณะทรงกระบอกอยู่ตรงกลางแทนโดยเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ใช้วิธีการส่งข้อมูลด้วยแสงแทนการส่งด้วยสัญญาณไฟฟ้า
วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 2 ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัครสมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ
1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว
3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์
4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้
1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น
2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”
3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้
4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ
4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ
4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้
4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ
4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัครสมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ
1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว
3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์
4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
การพัฒนาภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้
1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น
2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”
3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้
4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ
4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ
4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้
4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ
4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
ใบงานที่ 1ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษาศึกษาการบริหาร คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน สั่งการ และควบคุม การทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยในการบริหาร
การศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
จากความหมายของการบริหารและการศึกษา จึงสรุปได้ว่า
การบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ศาสตร์ คือ สิ่งที่ได้ค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้ อาจแบ่งเป็นดีรึไม่ดีศาสตร์ หรือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน ศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย"การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย3. ใช้ระบบเผด็จการ4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า5. มีระบบศักดินา ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical ป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 21. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจ ยุคที่ 4 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ คือ เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์
1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ 1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน 2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน 3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
แรงจูงใจ (Motive)
สิ่งที่บุคคลคาดหวัง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่บุคคลพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจก็ได้ แรงจูงใจมีผล ดังนี้
1. เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
2. เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม
3. เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายาม
มนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่อง
ส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
การศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี
จากความหมายของการบริหารและการศึกษา จึงสรุปได้ว่า
การบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี” นั่นเอง2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ศาสตร์ คือ สิ่งที่ได้ค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้ อาจแบ่งเป็นดีรึไม่ดีศาสตร์ หรือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน ศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย"การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือ ยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 11. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย3. ใช้ระบบเผด็จการ4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า5. มีระบบศักดินา ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical ป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 21. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม2. มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ3. มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ5. เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ยุคที่ 3 วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจ ยุคที่ 4 ยุคพฤติกรรมศาสตร์ คือ เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์
1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2. Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ 1. ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน 2. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน 3. ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
แรงจูงใจ (Motive)
สิ่งที่บุคคลคาดหวัง โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่บุคคลพึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจก็ได้ แรงจูงใจมีผล ดังนี้
1. เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
2. เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม
3. เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายาม
มนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่อง
ส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)